คดีแพ่ง เป็นคดีที่ เกี่ยวข้องกับความเสียหายและการชดใช้ สินไหมทดแทนหรือชดใช้เป็นตัวเงินต่างๆ คดีประเภทนี้ ไม่มีบทลงโทษ จำคุก หรือประหารชีวิต มีแต่เพียงบทลงโทษ ชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น โดยทั่วไปบทลงโทษจะ ไม่รุนแรงเท่าคดีอาญา โดยปกติแล้วคู่กรณีในคดีแพ่งมักจะถือว่าเท่าเทียมกัน เช่น เป็นคดีความระหว่างเอกชนกับเอกชน คดีแพ่งมีรายละเอียดเงื่อนไข ต่างๆเป็นจำนวนมากและ มีความสลับซับซ้อนไปตามวิวัฒนาการของสังคม เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการประกอบธุรกิจการค้าติดต่อกัน ย่อมต้องมีปัญหาเกิดขึ้นและคนผู้ซึ่งติดต่อกับเรานั้นย่อมมีลูกไม้หรือมี ความไม่ซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเข้ามา ให้ความเป็นธรรม กับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ว่ากันไปตามหลักฐาน

 

ยกตัวอย่างคดีแพ่ง

เช่น คดีผิดสัญญาซื้อขาย คดีผิดสัญญาจ้างทำของ คดีละเมิดขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีตั๋วเงิน คดีผิดสัญญาเงินกู้ คดีบัตรเครดิต คดีเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา คดีฟ้องบังคับจำนอง คดีค่านิติบุคคลส่วนกลางบ้านจัดสรร สังเกตว่าคดีแพ่งจะเป็นคดีเกี่ยวกับเงินเสียเป็นส่วนใหญ่

สิ่งที่ขอตามท้ายฟ้องคดีแพ่งเช่น ขอให้คืนเงิน ขอให้คืนทรัพย์ ขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือขอให้ใช้ราคาแทนในกรณีคืนทรัพย์ไม่ได้

หากศาลพิพากษาแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ภายใน 30 วัน จะมีการยึดอายัดทรัพย์ขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาใช้หนี้แก่โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป

คดีแพ่งไม่มีบทลงโทษทางจำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ซึ่งเป็นโทษทางอาญา

บทความ : คดีอาญาคดีแพ่งคดีลักทรัพย์คดีฉ้อโกงคดียักยอก