วิศวกรโยธาเพื่อนกันโทรเข้ามาให้ช่วยไปประกันตัว นายวิศวกรไปคุมงานก่อสร้างอาคารพานิชย์จำนวน 10 คูหา 4 ชั้น ซึ่งกำลังก่อสร้างเสาและคานชั้น 3 เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเวลาประมาณสิบโมง ตึกได้ถล่มลงมาทับคนงานเสียชีวิตสองคน บาดเจ็บแปดคน สืบสาเหตุมาได้ความว่า งานนี้เจ้าของโครงการเร่งงานมาก เพราะต้องการรีบเปิดตัวโครงการ ดังนั้นอายุคอนกรีตยังไม่ทันได้ที่ดี ก็เริ่มงานขั้นตอนต่อไปแล้ว นายวิศวกรบอกเจ้าของโครงการก็ไม่ค่อยยอมฟังเท่าใด ใจร้อนจะเร่งงานท่าเดียว งานนี้นายวิศวกรซวย เพราะเป็นคนเซ็นควบคุมงานก่อสร้างเสียด้วย จากเร็วกลายเป็นช้า ตึกที่ถล่มไปแล้ว ทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ เสียเวลา เสียเงิน นายวิศวกร ต้องได้รับการประกันผู้ต้องหา ไม่แน่ว่าจะทำงานต่อได้ เพราะโดนยึดใบกว. อาจต้องหาวิศวกรคนใหม่มาเปลี่ยน และต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขึ้นศาลรวมถึงว่าจ้างทนายมาช่วยดำเนินการ ในชั้นศาล เหนื่อยอีกเยอะเลย

การจะทำอะไรนั้น ต้องคิดให้ดี มีความรอบคอบ นะจะบอกให้ มิฉะนั้น ต้องเสียเวลาสอบถาม เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว ราคา ว่าเขาคิดยังไง น่าวุ่นวายสิ้นดี ใครไม่เคยคงไม่ทราบว่ามันปวดหัวแค่ไหนนะ แทนที่ จะเอาเวลานี้ไปทำมาหากิน ดันต้องมาเสียเวลาแก้ปัญหา ในเรื่องเกี่ยวกับคดีความ ซึ่งบางครั้งก็มีความรุนแรง เป็นความเป็นความตาย หรือความอยู่รอดของท่านกันเลยทีเดียว

เรื่องราวในลักษณะตึกถล่มนี้ทางเรานั้นมีความเข้าใจ เนื่องจากพอที่จะมีความรู้ในทางการก่อสร้างอยู่บ้าง การก่อสร้างนั้นจำเป็นจะต้องใช้บุคคลหลายฝ่าย จริงอยู่วิศวกรผู้ออกแบบอาจจะออกแบบถูกต้อง แต่ในขั้นตอนการก่อสร้างหรือการคุมงานก่อสร้าง จำเป็นที่จะต้องมีวิศวกรที่มีใบกวควบคุมการก่อสร้างอีกขั้นตอนหนึ่ง ถึงขั้นตอนการก่อสร้างหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงนี้ อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เช่น ทางเจ้าของงานเร่งให้งานเสร็จทันตามกำหนดเวลา บางครั้งปูนยังไม่ได้แข็งตัวเลยหรือได้ค่า strength  ที่เหมาะสม ก็ฝืนเร่งทำงานขั้นตอนต่อไป  ลักษณะแบบนี้มีผลทำให้ ตึกนั้นมีโอกาสที่จะเสียหาย ในขั้นตอนการก่อสร้างได้ รวมถึง ในบางครั้งโฟร์แมนคุมงานอยู่หน้างานไม่ได้มีความละเอียดรอบคอบเพียงพอ  ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมการตอกเสาเข็ม อาจจะนับ blow count ไม่ถูกต้อง ทำให้เมื่อบ้านก่อสร้างไปแล้ว ฐานรากไม่ดี มีการทรุดตัว แบบนี้ก็มีให้เห็นเกิดขึ้นได้ มาบ่อยครั้ง