สำหรับการประกันตัวในชั้นศาล รายละเอียดว่าใช้หลักทรัพย์กี่บาทกี่สตางค์และใช้อะไรได้บ้างจะต้องสอบถามที่ศาล ดูที่เขตอำนาจศาลที่จะรับฟ้อง
สำหรับ ในชั้นศาล แบ่งเป็น
1.ศาลชั้นต้น
2.ศาลอุทธรณ์
3.ศาลฎีกา
กรณีนี้เราพูดถึงการประกันตนคดีอาญาในศาลชั้นต้น
กรณีที่ 1 โจทก์ผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล กรณีนี้การประกันตัวชั้นศาล เราจะต้องประกันตัวหลังจากที่ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องและศาลมีคำสั่งว่าคดีมีมูล จำเลยจะต้องประกันตัวในวันนัดหรือก่อนวันนัดสอบคำให้การ
กรณีที่ 2 โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ จากนั้นตำรวจส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการตรวจสำนวนและส่งฟ้องต่อศาล กรณีนี้จำเลยจะต้องประกันตัวในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องต่อศาล
สำหรับในชั้นศาลหลักทรัพย์ใช้กี่บาทและใช้อะไรได้บ้าง ก็ให้โทรสอบถามที่ศาลชั้นต้นที่รับฟ้อง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาล
สอบถาม
กรณีประกันตัวในศาลชั้นอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว เช่นลงโทษจำคุกมากี่ปี และคดีนี้ยังไม่ถึงที่สุด ให้โทรสอบถามศาลชั้นต้นว่าประกันตัวกี่บาท (โทรถามศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษานั่นหล่ะ) ค่าประกันตัวในศาลชั้นอุทธรณ์ปกติ จะไม่เท่ากับการประกันตัวในศาลชั้นต้น ทั้งนี้ต้องดูโทษที่ลงประกอบด้วย
กรณีประกันตัวในศาลชั้นฎีกา
เมื่อศาลชั้นอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว เช่นลงโทษจำคุกมากี่ปี และคดียังไม่ถึงที่สุด ให้โทรสอบถามศาลชั้นต้นว่าประกันตัวกี่บาท ค่าประกันตัวในศาลชั้นฎีกา ปกติจะไม่เท่ากับการประกันตัวในศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น ทั้งนี้ต้องดูโทษที่ลงประกอบด้วย
บทความเขียนมานี้หวังว่าคงเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับการประกันตัวในชั้นศาล
ติดต่อ