สำหรับ คดียักยอกทรัพย์ ประกันตัวเท่าไหร่ วงเงินที่ใช้ ก่อนอื่นเราควรรู้ความหมายของการยักยอกทรัพย์เสียก่อน ยักยอกทรัพย์ เป็นการทำลายกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์นั้น แต่ไม่ได้ทำลายการครอบครอง หมายความว่าทรัพย์นั้นหลุดจากการครอบครองของเจ้าของกรรมสิทธิ์ เราเพียงแค่ทำลายธรรมสิทธิ์เท่านั้น ก็คือถือว่าเป็นยักยอกทรัพย์ แยกกันง่ายๆได้เบื้องต้นแค่นี้ การยักยอกทรัพย์นี้ต้องอาศัยเจตนาหรือเจตนาพิเศษหรือเปล่า เดี๋ยวจะมาเราแจ้งแถลงไขกันให้ฟัง ว่ามันคืออะไรและเป็นอย่างไรได้บ้าง
>> กดโทร!!! : 081 189 5861 +++
>> กดสอบถาม ประกันตัว ทาง facebook
=>ไลน์@ สอบถามประกันตัว: @653fbxgv
<================
หัวข้อภายในบทความ
================>
ยกตัวอย่าง เราฝากโทรศัพท์มือถือไว้กับเพื่อน เมื่อเราไปขอคืนแล้วเพื่อนไม่ให้คืน แบบนี้เป็นความผิดข้อหายักยอกทรัพย์ (ท่านจะเห็นว่าขณะที่เกิดการยักยอกทรัพย์ทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยแล้ว)
1. ถูกแจ้งข้อหาว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ทำไงต่อ?
จะทำยังไงต่อไปดี เมื่อถูกแจ้งข้อหานี้ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหมายเรียกก็ควรไปพบเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ตามหมายเรียกนั้น เพราะหากไม่ไปตามหมายเรียกของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจจะมีการออกหมายจับได้ (เมื่อมีหมายจับมันจะยุ่งยากกว่าเดิมมาก)
เมื่อพนักงานสอบสวนทำสำนวนเสร็จแล้ว ก็จะทำการส่งสำนวนไปให้อัยการ เพื่อทำการตรวจสอบสำนวน แล้วจากนั้นก็ทำการส่งฟ้องศาลตามเขตอำนาจศาลต่อไป
ในการประกันตัวนั้นสามารถเลือกประกันตัวได้ในชั้นพนักงานสอบสวนและชั้นศาล และคดียักยอกทรัพย์ใช้วงเงินประกันตัวเท่าไหร่ ให้สอบถามกับพนักงานสอบสวน หรือถ้าในชั้นศาลก็ให้สอบถามที่ศาลที่พนักงานอัยการส่งฟ้อง โดยในชั้นศาลให้ไปสอบถามที่ช่อง 1 ประชาสัมพันธ์
2. ใช้อะไรประกันตัวยักยอกทรัพย์ได้
1.เงินสด => อันนี้แน่นอนสะดวกที่สุด
2.โฉนดที่ดิน => สอบถามให้ดีว่า นส3 นส3ก หรือโฉนด ที่เขารับ
3.กรมธรรม์ประกันอิสรภาพ => ให้ติดต่อกับบริษัทที่ขายกรมธรรม์เอาไว้ก่อนเพราะว่าจะต้องมีเรื่องเอกสารซึ่งจะต้องดำเนินการ ค่อนข้างยุ่งยาก สอบถามบริษัทด้วยว่าเขารับคดีของเราหรือไม่
3. ข้อหายักยอกทรัพย์ เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้
ข้อหายักยอกเป็นความผิดอาญาอันยอมความได้นั่นหมายความว่ายังไงกัน มันก็หมายความว่าหากตัวท่านจำเลยตกลงกับผู้เสียหายคือโจทก์ ตกลงกันว่าหากท่านบรรเทาความเสียหายจนเป็นที่พอใจแก่ผู้เสียหายหรือโจทก์ สามารถถอนฟ้องในคดีนี้ได้อันเป็นการทำให้คดีอาญาระงับสิ้นสุดจากศาล ตามประมวลกฎหมายวิอาญามาตรา 39